วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การพับผ้าเช็ดปากแบบหมวก

การพับผ้าเช็ดปาก แบบหมวก






























ดอกพุด


ดอกพุดร้อยมาลัย ดอกตูมไม่ยอมบาน
ดอกพุดร้อยมาลัย เมื่อดอกตูมมีลักษณะเป็นตุ้มกลมปลายแหลม ดอกไม่มีกลิ่นหอม และ ดอกไม่บานแม้ดอกจะร่วงโรยหล่นลงพื้นแล้ว ดอกก็ยังตูมอยู่แบบนั้น หากเก็บดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัยที่ร่วงโรยหล่นลงพื้นแล้ว มาแกะคลี่ออกดู ก็จะพบว่า กลีบดอกมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร)มาก เพียงแต่ ดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัย ไม่ยอมบาน เท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างกับดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร) ที่เมื่อดอกตูมเต็มที่แล้ว ดอกจะบานอยู่ได้ 1-2 วันจึงร่วงโรย


การเก็บดอกพุดตูมจากต้น
ดอกพุดตูมมี ๒ แบบ คือ ดอกพุดเล็ก และ ดอกพุดใหญ่
Ø หากเป็นดอกพุดตูมดอกเล็กให้เก็บหลังจากเที่ยงวัน เพราะดอกจะโตเต็มที่
Ø ถ้าเป็นดอกพุดตูมดอกใหญ่ ควรเก็บตั้งแต่เช้า ไม่ควรเกินเที่ยง หากเก็บบ่ายหรือเย็นดอกจะใหญ่มาก
Ø ถ้าต้องการเก็บดอกสีเขียวเล็ก ควรเก็บตอนเย็นซึ่งเป็นดอกที่จะบานในอีกวัน
วิธีการเก็บ 
จับที่ปลายดอกและดึงดอกตรง ๆ ดอกก็จะหลุดออกมา



วิธีการร้อยมาลัยดอกพุดซีก ๕ หลัก
   Ø นำดอกพุดใส่ภาชนะใส่แป้งเล็กน้อยคลุกให้เข้ากันเสียบดอกพุดให้เต็มเข็มก่อนเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการตัดก้านดอกพุด การเสียบให้เสียบห่างโคนดอกออกมาเพียงเล็กน้อย (ถ้าห่างมากจะเป็นช่องว่าง เวลารูดจะไม่เป็นแถว)
          แถวที่  ๕                          
          แถวที่  ๔                          
          แถวที่  ๓                          
          แถวที่  ๒                          
          แถวที่  ๑                          

วิธีทำ 
                      Ø เสียบดอกพุดให้เต็มเข็มก่อนเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการตัดก้านดอกพุด 

    Ø  จัดแถว แถวที่ ๑ จัดลงมา  ๓ ดอก ให้แต่ละดอกอยู่ตรง มุม ๓ มุมของแป้น

    Ø  แถวที่๒  สับระหว่างแถว

                              Ø  แถวที่ ๓  จัดดอกให้ตรงกับแถวที่ ๑

    Ø           ทำไปเรื่อยๆ จนเต็มเข็มหรือตามความต้องการ

    Ø ***อาจจำว่า ๑,,,,๔ หมายถึง การสับหว่าง
      


ข้อดีของดอกพุดร้อยมาลัย

         ข้อดีของดอกพุดร้อยมาลัย คือดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัย เมื่อดอกตูมเต็มที่มักจะมีขนาดเท่าๆ กัน จึงเลือกเก็บดอกตูมได้ง่าย ดอกตูมจะไม่บาน มีก้านดอกที่ยาวใกล้เคียงกัน จึงทำให้การจัดเรียงดอกพุดในการร้อยมาลัย สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น และดูเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม แต่มีข้อเสียคือ ดอกพุดร้อยมาลัยจะมีน้ำยางสีขาว(เพราะเป็นดอกพุดที่อยู่ในวงศ์ Apocynaceae) จึงต้องนำดอกพุดมาคลุกกับแป้งก่อน หรือต้องคอยใช้แป้งโรยบ่อยๆ เวลาที่กำลังทำการร้อยพวงมาลัย



การเก็บรักษาดอกพุดตูม
-          การเก็บรักษาดอกพุดตูม ห้ามฉีดน้ำ หรือ พรมน้ำ เพราะจะทำให้ดอกพองพร้อมที่จะบาน การเก็บควรรองใบตองที่ก้นถุงก่อนแล้วใส่ดอกพุด ปิดปากถุงให้สนิท
-          ถ้าเก็บหลังฝนตก ต้องผึ่งลมให้แห้งก่อนแล้วจึงเก็บตามปกติ







วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประดิษฐ์พานหมั้น

การประดิษฐ์พานหมั้น



วัสดุอุปกรณ์
ดอกกุหลาบ  ๖๐ ดอก                                  ๑๑.เข็มมือ
๒.  ดอกพุด ๖๐๐ ดอก                                       ๑๒.เข็มมาลั
๓  .ดอกรัก  ๒๕  ดอก                                        ๑๓.ด้ายหลอดสีขาว , สีแดง
๔.  ขั้วชบา  ๒๕  ขั้ว                                          ๑๔.ด้ายบึ้ง
๕.  ใบตองแก่     ใบ                                        ๑๕.กล่องกำมะหยี่สำหรับใส่แหวน
๖.  ใบตองอ่อน  ๑ ใบ                                        ๑๖.กรรไกร
๗.  ดอกบานไม่รู้โรย   ๖๐  ดอก                        ๑๗.กระบอกฉีดน้ำ   
๘.  ฟลอล่าเซลล์    ๓  ก้อน                              ๑๘.พานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๗ นิ้ว
๙.  เข็มหมุด ๑ กล่อง                                        ๑๙.ดินเหนียวสำหรับใส่พาน
๑๐.ดอกกะเม้ง  ๓๐  ดอก


วิธีการประดิษฐ์


ร้อยตาข่ายรอบพาน ตัดก้านดอกพุดให้มีขนาดเท่ากัน เริ่มจากร้อยตาข่ายลายสี่ก้านสี่ดอก ๒ ชั้น ดังรูป


.ทำอุบะ ๒๖  เส้น ร้อยใช้ดอกรัก ๑ ดอก   นำมาผูกต่อกับตาข่าย 


๓.จีบใบตองพับกลีบและทบครึ่งนำมาติดรอบพาน  ดังรูป




.เดินดอกบานไม่รู้โรยรอบขอบนอก ๑ แถว




.นำใบตองมาจีบเย็บกลีบหัวนกลายเปียต่อกัน ให้ได้ความยาวรอบพาน ๒๒ นิ้ว

๖.นำมาห่อให้เป็นวงกลมหุ้มรอบแกนกลาง และจีบใบตองติดรอบอีกครั้ง
.ร้อยมาลัยแบน จำนวน ๓ เข็ม  ดังนี้
แถวที่ ๕ เหมือนแถวที่ ๑ (เริ่มต้นใหม่)
แถวที่ ๔ กุหลาบ ๒ พุด  ๒  กุหลาบ  ๒
แถวที่ ๓ กุหลาบ๑  พุด๑ กะเม้ง ๑ พุด ๑ กุหลาบ ๑
  แถวที่ ๒ กุหลาบ ๒ พุด ๒ กุหลาบ ๒
  แถวที่ ๑ กุหลาบ ๑ พุด ๑  กุหลาบ ๑


.นำมาลัยมาติดรอบพานด้านนอก



.เดินขอบบนด้วยบานไม่รู้โรย    แถว
๑๐.ติดกล่องแหวนกำมะหยี่
๑๑. จะได้พานของหมั้นตามภาพ